วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดการจัดการ ของ Harold Koonz

ประวัติ

 harold koontzได้กำหนดขั้นตอนในการจัดการเอาไว้ 5 ขั้นตอน แฮร์โรลด์ คูนตซ์เป็นศาสตราจารย์ของการจัดการธุรกิจที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย,Los Angeles เขาเริ่มเป็นนักวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในปี 1936  เขาได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเยล  harold koontzเสียชีวิตตอนอายุ 75 เมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 1984 ด้วยโรคไขข้ออักเสบ

กระบวนการจัดการของ แฮร์โรลด์ คูนตซ์

1.การวางแผน (Planning)

          2.การจัดองค์กร (Organization)

                3.การบังคับบัญชา  (Commanding)

                4.การประสานงาน (Co-ordinating)

    5.การควบคุม (Controlling)


1.การวางแผน ( Planning ) 

    เป็นการคิดและกำหนดสิ่งที่จะทำในอนาคต  ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญมากของผู้จัดการ  ผู้จัดการที่มีวิสัยทัศน์ทางการจัดการจะต้องคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่มีการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรง ผู้จัดการที่มีความสามารถจะต้องกำหนดสิ่งที่จะทำในอนาคตไว้ก่อนได้อย่างถูกต้อง

2.การจัดองค์กร (Organizing)

    คือ การตัดสินใจว่าจะจัดหน่อยงานขององค์กรอย่างไรการกำหนดแผนกหรือหน่วยงานย่อยๆในองค์กรว่าจะมีแผนกอะไรบ้าง จำนวนกี่แผนกเพื่อให้เห็นโครงสร้างขององค์กรการจัดสายงานตำแหน่งต่างๆให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการมอบหมายหรือสั่งการมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งต่างๆให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการมอบหมายงานหรือสั่งการมีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งต่างๆไว้อย่างชัดเจนการจัดองค์กรที่ดีจะต้องเป็นองค์กรที่การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบลื่น

3.การจัดคน (Staffing)

   คือ การจัดการในด้านบุคลากรที่มีอยู่ในองค์กร โดยทำหน้าที่สรรหา คัดเลือก บรรจุและแต่งตั้ง การพัฒนาบุคล การสร้างขวัญและกำลังใจ การสร้างบรรยากาศในการทำงานให้เกิดขึ้นในองค์กร  การธำรงรักษาไว้ซึ่งบุคลากรเก่ง ดี มีความสามารถการจัดคนลงตำแหน่งที่เหมาะสมกับงาน ในการจัดการเรื่องบุคคลนี้จะต้องทำให้สอดคล้องกับการจัดตั้งองค์กรจึงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

4.การอำนวยการ (Directing) 

   เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ การสั่งการการกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้ผู้บังคับบันชาเหล่านี้สามารถควบคุมการทำงานขององค์กรได้  การอำนวยการขององค์กรที่เป็นของรัฐจะมีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ส่วนขององค์กรของเอกชนแม้ไม่มีกฎหมายรองรับแต่จะมีการกำหนดอำนาจหน้าที่เอาไว้เป็นแนวปฏิบัติอย่างชัดเจนเช่นกัน

5.การควบคุมดูแล (Controlling)

   คือการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานหรือคนงานในองค์กรให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือหน้าที่ที่กำหนดเอาไว้ การทำงานเป็นไปตามมาตรฐานที่องค์กรกำหนดหรือไม่  การควบคุมอาจตรวจสอบจากการรายงานผลการปฏิบัติงาน หรือการประเมินผลการปฏิบัติซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในปัจจุบันเป็นอย่างมากเนื่องจากทรัพยากรในการจัดการมีจำนวนจำกัด  ดั้งนั้นจึงต้องมีการควบคุมการใช้ให้การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร